ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์(PC)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง ?



           1. Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น

            




            2. CPU (Central Processing Unit) หลายๆคนคงรู้จักกันอยู่แล้วว่าซีพียูมีหน้าที่ทำอะไรในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งคอมพิวเตอร์ของเรานั้นจะขาดซีพียูไม่ได้เลย เพราะซีพียูก็เป็นเหมือนสมองของคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งการทำงานในระบบต่างๆ และตรวจสอบระบบว่าทำงานผิดปกติหรือเปล่า ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงจะเป็นร่างกายของมนุษย์ ที่มีสมองในการสั่งการร่างกายของเรา ในวันนี้ เราจะมาเจาะลึกถึง CPU กัน มีหลากหลายค่ายที่เป็นผู้ผลิตซีพียู แต่ก็จะมีสองค่ายใหญ่ๆที่คอยแข่งขันในด้านการพัฒนาซีพียูมาโดยตลอด นั้นก็คือ Intel และ Amd. รุ่นซีพียูที่ทำให้ Intel สร้างชื่อเป็นอย่างมากก็คือ Coleron Pentium II และ Celeron Pentium III และต่อก็จากนั้นทาง Intel ก็ไม่ได้หยุดพัฒนามาแต่อย่างได้ จนตอนนี้สามารถให้ซีพียูทำความเร็วสูงมากๆนั้นเอง
                
ประโยชน์ของซีพียู 

        การควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ ด้วยการคิดคำนวณและประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งจะได้รับมาจากหน่วยความจำหลัก ถ้าไม่มีซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้เลย

CPU มีหน้าที่อะไรบ้างในระบบคอมพิวเตอร์


       2.1เริ่มจากการได้คำสั่งจากอุปกรณ์นำข้อมูล (input) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คำสั่งต่างๆจะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก หรือที่เรียกกันว่าแรม (RAM) แรมนั้นจะคอยเรียงคำสั่งตามลำดับที่สั่งเข้ามา และตามระดับความสำคัญ โดยแรมจะมีหน้าที่ป้อนสำสั่งต่างๆ ทีละคำสั่งให้กับ CPU
           2.2เมื่อซีพียูได้รับคำสั่งจากแรมแล้ว ก็จะทำการประมวลผลทีละคำสั่งที่เข้ามา เมื่อประมาลผลเสร็จ ก็จะส่งผลล้พธ์กลับไปที่แรมอีกครั้ง
        2.3แรม (RAM) จะรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของซีพียูในรูปแบบคำสั่ง จากนั้น แรมก็จะส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในคำสั่ง หลังจากที่คำสั่งถูกทำจนเสร็จสิ้น แรมก็จะส่งข้อมูลกลับไปที่ซีพียูเพื่อแจ้งว่าคำสั่งนั้นๆได้ทำหน้าที่เรียบร้อย

Central Processing Unit (CPU) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบด้วยสารซิลิกอน ที่เป็นสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ และผสมกับสารบางอย่างเพื่อที่จะเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ โดยเจ้าสารซิลิกอนที่ได้ผสมกับสารบางชนิดแล้ว เราจะเรียกกันว่า ทรานซิสเตอร์ ภายในซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์มากกว่าสิบล้านตัวเลยทีเดียว ทรานซิสเตอร์เหล่านี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ หรือวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำให้การทำงานของซีพียูมีความร้อนสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องติดซิงค์และพัดลมเพื่อที่จะระบายความร้อนให้ดียิ่งขึ้น เพราะถ้าหากซีพียูของเราได้เกิดความร้อนนานๆเข้า อาจจะทำให้ซีพียูของเราพังได้ในที่สุด (ต้องซื้อใหม่กันเลยทีเดียว)


             3. เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
            
             เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ ATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
– PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
– AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
– ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
– ETX ใช้ใน embedded systems
– LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
– WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่ 2 แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ดทั่วไป ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่มีความสำคัญซึ่งมีหน้าที่คอยควบคุมและจัดการให้กับอุปกรณ์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่าง ๆจากตัวอุปกรณ์ต่างๆไปยังซีพียู และรับคำสั่งที่ได้รับการประมวลผลจากซีพียู นำไปส่งให้อุปกรณ์นั้นๆเพื่อให้การทำงานต่างๆไม่ติดขัด
ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง
อย่างที่รู้กันว่าเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งประโยชน์ของเมนบอร์ดนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในเครื่อง ถ้าเมนบอร์ดไม่มีคุณภาพอาจจะทำให้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหายได้
ซึ่งถ้าเมนบอร์ดที่ใช้งานมีเสถียรภาพและคุณภาพที่ดี จะทำให้การทำงานในแต่ละครั้งไหลลื่น อุปกรณ์ทุกอย่างจะทำงานอย่างไม่มีสะดุด เป็นผลให้เพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วย
การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานเมนบอร์ดที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพื่อป้องกันจุดด้อยที่ต้องระวังไม่ให้เกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเมนบอร์ดมากที่สุด จุดที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของความร้อน สาเหตุที่ปัจจุบันนิยมใช้มาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ก็เพราะว่ามีการวางตำแหน่งซีพียูและอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั้นเอง


              4. การ์ดจอ (Graphic Card) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลย เพราะการ์ดจอนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยกระบวนการประมวลผลของภาพต่างๆ เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลผ่านทาง CPU และต่อมาเมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จก็จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดจอ จากนั้นการ์ดจอก็จะส่งข้อมูลภาพที่ได้มาไปยังหน้าจอมอนิเตอร์นั้นเองครับ

               เราได้เห็นถึงความสำคัญของการ์ดจอ (Graphic Card) กันไปที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการ์ดจอนั้นยังมีส่วนสำคัญสำหรับคนที่ชอบการ ดูหนัง เล่นเกมที่มีกราฟิกสวยๆ เพื่อความสมจริงกับเกมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำงานด้านกราฟิกที่ต้องใช้การ์ดจอเฉพาะด้านอีกด้วยครับ ซึ่งวันนี้ทางเราจะมาแนะนำการ์ดจอให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคนนะครับ

วิธีการเลือกการ์ดจอ (Graphic Card)

             4.1 อัตราการรีเฟรชของหน้าจอ (Refresh Rate)การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพที่ดี ควรมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลากหลายรูปแบบ อัตรารีเฟรชคือ จำนวนครั้งที่หน้าจอได้กวาดใหม่ใน 1 วินาที ซึ่งถ้าหากว่าอัตราการรีเฟรชต่ำ จะทำให้หน้าจอมีการกระพริบ ทำให้ผู้ใช้จะมีอาการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาได้ และสามารถทำอันตรายกับดวงตาได้ ซึ่งในทุกวันนี้ อัตรารีเฟรชเรทจะอยู่ที่ 144 เฮิรตซ์หรือมากกว่าในบางรุ่น ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ขึ้น อัตราการรีเฟรชต้องเพิ่มมากขึ้นตามขนาด ยิ่งมากยิ่งดีครับ
             4.2 หน่วยความจำ (Memory)การ์ดจอจำเป็นต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับในการเก็บข้อมูล สำหรับการ์ดแสดงผลในบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวเอง โดยสามารถทำหน้าที่แทน CPU ได้ ยังสามารถช่วยให้ CPU ไม่ต้องทำงานหนักมากอีกด้วย และยังช่วยให้ CPU ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
             4.3 ประเภทของการ์ดจอ การ์ดจอแต่ละประเภทให้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยๆ คือ
              4.3.1 การ์ดจอออนบอร์ด การ์ดจอประเภทนี้จะเป็นการ์ดจอที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นที่ค่อนข้างประหยัด โดยจะติดมากับเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ ที่เราได้ซื้อมา ความสามารถของมันก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร เพราะสามารถทำได้แค่สิ่งทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง หรือใช้งานทั่วไปนั่นเอง
              4.3.2 การ์ดจอสำหรับคนทำงานด้านกราฟิก เป็นการ์ดจอประเภทที่นิยมกับการ Render งานกราฟิก เหมาะกับการประมวลผลหนักๆ แต่ราคาจะแพงกว่าการ์ดจอเล่นเกม และมีหลายๆ คนถามว่าเหมาะกับการเล่นเกมไหม? เอาตามตรงก็คือเล่นได้ครับ แต่จะไม่เหมาะเท่ากับการ์ดจอเล่นเกมโดยเฉพาะ แนะนำว่าเลือกซื้อประเภทที่เราจะใช้ดีกว่าครับ
              4.3.2 การ์ดจอสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ เป็นการ์ดจอที่เหมาะกับการแสดงผลที่ค่า Frame per second (FPS) สูงๆ เพื่อความลื่นไหลของเกม และยังเน้นในเรื่องของ Resolution ที่มี่ความละเอียดค่อนข้างสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาพอีกด้วย แต่ประเภทนี้จะกินไฟเยอะกว่าการ์ดจอทำงานนะครับ
            4.4 จุดประสงค์ในการใช้งาน ควรรู้ก่อนที่จะซื้อถามตัวเองว่าเราจะซื้อมาใช้งานในรูปแบบไหน ทำงานธรรมดาทั่วไป ท่องอินเตอร์เน็ต เล่นเกม หรือทำงานด้านกราฟิกที่ต้องใช้ความสามารถของการ์ดจอ เพราะถ้าหากคุณเลือกซื้อการ์ดจอแพงๆ ที่สามารถเล่นเกมได้หรือทำงานได้เป็นอย่างดี แต่ใช้แค่การพิมพ์ แชท และท่องอินเตอร์เน็ตทั่วไป จะเป็นการเสียเงินฟรีๆ และยังเสียค่าไฟเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยครับ
            4.5 ความละเอียดในการแสดงผล (Resolution)การ์ดที่ดีต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดที่สูงได้เป็นอย่างดี ความละเอียดของภาพก็คือ จำนวนจุดพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไปแสดงบนหน้าจอมอนิเตอร์ได้ ยิ่งจำนวนจุดมาก ก็จะทำให้ความละเอียดมากยิ่งขึ้น และยังคมชัดอีกด้วย







           5. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูการทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์กัน

           หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
           แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
           จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
           มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
           เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ

IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร
ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง


               6. Ram หรือ (Random Access Memory) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ แรมมีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ที่ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนที่จะแสดงผลการประมวลที่จะได้ออกมาผ่านทางหน้าจอ (Monitor) นั่นเอง การประกอบ แรมจะถูกเสียบเข้ากับ Mainboard และจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการใส่คู่สี โดยจะเริ่มใส่จากคู่สีเทาก่อน
       
DDR RAM คืออะไร ?

              DDR RAM ที่ย่อมากจาก Double Data Rate RAM ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมของคอมพิวเตอร์และหน่วยและ CPU ฉะนั้นคอมพิวเตอร์ที่มี DDR RAM ก็จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นเดียวกันที่ติดตั้งกับ Ram ชนิดปกติ
              แน่นอนว่าความเร็วต้องเป็นคำตอบแรกๆ ที่หลายๆ คนคิด และมันก็ถูกต้อง เพราะแรมเปรียบเสมือนตัวรับส่งข้อมูล ถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือ รถที่ติดเทอร์โบมา กับรถที่มากับเครื่องธรรมดาๆ ดังนั้น ลองคิดดูว่ารถคันไหนจะวิ่งได้เร็วกว่ากัน ส่วนในสมัยนี้ ได้มี 2 ประเภทหลักๆ ที่คนหลายๆ คนได้เลือกใช้กันคือ

DDR3 ที่มีความเร็ว Bus ตั้งแต่ 1333 / 1600 / 1866 / 2133 / 2400 (รุ่นตั้งแต่ 1866 ขึ้นไป จำเป็นต้องมีเมนบอร์ดที่รองรับเฉพาะสำหรับการ overclock Ram นะครับ)
DDR4 ที่มีความเร็ว Bus ตั้งแต่ 2133 / 2400 / 2666 / 2800 / 3000 / 3200 (รุ่นตั้งแต่ 2400 ขึ้นไป จำเป็นต้องมีเมนบอร์ดที่รองรับเฉพาะสำหรับการ OC Ram นะครับ)
(Overclock หรือ OC คือการเพิ่มขีดจำกัดของอุปกรณ์ส่วนที่เราจะเร่งความสามารถนะครับ โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ตรง BIOS. ครั้งหน้าผมจะมาอธิบายให้นะครับ)

                7. Power Supply คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่แปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับขนาด 220V เป็นกระแสตรง 5V, 15V เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ โดยจะผ่านทาง MainBoard เพื่อจะส่งไฟเลี้ยงไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การ์ดจอ, ฮาร์ดดิส และพัดลมระบายความร้อนตัวใหญ่ ดังนั้น Power Supply จึงมีความสำคัญมากๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีเลือกซื้อ Power Supply 

                      7.1 ควรเลือก Power Supply ที่มียี่ห้อที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน
                      7.2 ควรเลือก Power Supply ให้มีพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่อง เพื่อป้องกันการชำรุดของอุปกรณ์ต่างๆ และแนะนำว่าควรเลือก Power Supply ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 500 วัตต์ เพื่อความปลอดภัย
                      7.3 เลือก Power Supply ที่จะสามารถอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ในอนาคต เพราะหากในอนาคตได้ทำการอัพเกรดเครื่องขึ้น เราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งกังวลกับ Power Supply จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เพียงพอหรือไม่
                      7.4 ขนาดของ Power Supply ควรที่จะสามารถประกอบกับตัว Case ของคอมพิวเตอร์ได้พอดี ไม่หลวมและไม่แน่นเกินไป หากเพื่อความชัวร์ ขอแนะนำยกคอมพิวเตอร์ไปให้ทางร้านจัดการจะดีกว่า





                    8. ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง(Secondary Storage Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
   เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน  จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น







               9. Sound Card (การ์ดเสียง)คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ   หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
          - A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
          - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
          หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย


               10. คีย์บอร์ด(Keyboard) หมายถึง อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนกับแป้นของพิมพ์ดีด เพียงแต่ไม่มีก้านตัวอักษร ทำให้ไม่มีการดีดก้านพิมพ์แบบพิมพ์ดีดรุ่นโบราณ หากใช้นิ้วกดลงไปบนแป้นใดแป้นหนึ่ง อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วแสดงให้เห็นทางจอภาพ แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์จะมีแป้นต่าง ๆ เพิ่มจากแป้นพิมพ์ดีดธรรมดาหลายแป้น เช่น แป้น Esc, Return, Ctrl, Alt, Option แป้นลูกศร, แป้นกำหนดหน้าที่ ( function key ) แผงแป้นตัวเลข ฯลฯ ในปัจจุบันแป้นพิมพ์ที่ใช้เป็นมาตราฐานจะมีสูงสุดถึง 101 แป้น







                  11. เมาส์ (Mouse) เมาส์  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ






                12.  จอภาพ (Monitor)  จอภาพ หรือมอนิเตอร์ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้างจากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพขั้นต่ำในปัจจุบันคือ 17 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลัง เป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันค่อนข้างถูกลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพ CRT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น